วันจันทร์, 05 มิถุนายน 2566

ผู้เข้าเยี่ยมชม

2268673
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
2527
2398
4925
2245457
12288
90594
2268673

Your IP: 44.200.112.172
2023-06-05 23:32

Login Form

จัดซื้อจัดจ้าง2561 ประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการปรับปรุงถนน

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามตำบลหัวสำโรง

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 14.00 น. ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา นายเฉลิมเกียรติ นพเกตุ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง (อบต.)เปิดเผยว่า อำเภอแปลงยาว ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มโรงงานในนิคมเกตุเวย์ซิตี้ และบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ เกตุเวย์ ร่วมกันจัดงานประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 8 กุมภาพันธ์ 2563 ณ บริเวณลานวัดหัวสำโรง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้ร่วมกันอนุรักษ์จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน บรรพบุรุษดั้งเดิมของอำเภอแปลงยาวนั้น ได้อพยพมาจากเมืองเวียงจันทร์ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งเรียกตัวเองว่า “ชาวลาวเวียง” ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขต อ.แปลยาว อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา “บุญข้าวหลาม” เป็นประเพณีการทำบุญถวายข้าวหลาม ขนมจีนน้ำยาป่าแด่พระภิกษุสงฆ์  ประเพณีนี้มีในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี เหตุที่ถวายข้าวหลามนั้น เป็นเพราะเดือน 3 เป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา จึงนำข้าวอันเป็นพืชหลักของตนที่ได้จากการเก็บเกี่ยวครั้งแรก ซึ่งเรียกว่าข้าวใหม่ จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมาก นำมาทำเป็นอาหาร โดยใช้ไม้ไผ่สีสุกเป็นวัสดุประกอบในการเผา เพื่อทำให้ข้าวสุก เรียกว่า “ข้าวหลาม” เพื่อนำไปถวายพระภิกษุ การเผาข้าวหลาม ชาวบ้านจะเริ่มเผาในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 โดยชาวบ้านจะออกไปหาไม้ไผ่ ซึ่งมีอยู่มากในหมู่บ้านมาทำกระบอกข้าวหลาม ซึ่งจะต้องเลือกลำไผ่ที่ไม่แก่หรืออ่อนมากเกินไป ไม่มีตามด เพราะตามดจะทำให้มีกลิ่นเหม็นและไม่มีเยื่อ ทำให้ข้าวติดกระบอก ความยาวของปล้องไม้ไผ่ ห่างพอควร ยาวประมาณ 18 นิ้ว นำไม้ไผ่ทั้งลำมาตัด หรือเลื่อยเป็นท่อน ๆ โดยมีข้อต่อที่ก้นกระบอกจากนั้นนำ “ข้าวเหนียว” ที่มีกะทิผสมเรียบร้อยแล้ว ใส่กระบอกนำไปเผาไฟที่ลานบ้าน โดยขุดดินเป็นรางตื้น ๆ เป็นที่ตั้งกระบอกข้าวหลาม รอบ ๆ แถวข้าวหลามก่อกองไฟขนานไปกับข้าวหลาม บางบ้านใช้ต้นไม้ที่ตายแล้วทั้งต้นมาเป็นเชื้อเพลิงซึ่งชาวบ้านทั้ง 12 หมู่บ้านของตำบลหัวสำโรง จะนำข้าวหลามมาวางเรียงรายเป็นแถวยาวประมาณ 200 เมตรซึ่งถือได้ว่า เป็นเตาเผาข้าวหลามยาวที่สุดในโลก จากนั้นจุดจุดไฟเผาข้าวหลามพร้อมๆกัน รุ้งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ชาวบ้านจะนำข้าวหลามที่เผาได้ พร้อมอาหารคาวหวาน ขนมจีนไปทำบุญที่วัดเขาดงยาง (วัดสุวรรณคีรี)  ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทราา การทำบุญข้าวหลามของชาว“ลาวเวียง”ยังคงทำกันตามประเพณีดั้งเดิมและผสมผสานกับประเพณีไทยก็คือการปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลองที่วัดเขาดงยาง (วัดสุวรรณคีรี) เขต ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา กลางเดือน 3 ชาวบ้าน “ลาวเวียง” ซึ่งอยู่ห่างจากวัดดงยาง ประมาณ 4 – 6 กิโลเมตร ต้องเดินทางด้วยเท้าไปปิดทอง โดยใช้เส้นทางผ่านบ้านหัวสำโรง ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว ซึ่งมีชาวไทยเชื้อสายเขมร ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นจำนวนมาก ประเพณีบุญข้าวหลามจึงแพร่หลายสู่บ้านหัวสำโรง และนับเป็นประเพณีของชนกลุ่มคนของชาวชุมชนหัวสำโรง ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว และชาวบ้านในพื้นที่ ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม  ที่ยึดมั่นและสืบทอดมาอย่างยาวนาน

กองกำกับการ 2 กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้จัดกไลังพลเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น